กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3377
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dried velvet tamarind consuming behavior of the tourists in Pattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
คอลีเยาะ สุหลง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมผู้บริโภค
ลูกหยีกวน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่บริโภคผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนในจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนในจังหวัดปัตตานี 3) เพื่อหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวน 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวน 5) เสนอแนะแนวทางการผลิตลูกหยีกวนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่บริโภคผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 70.16 มีอายุัูระหว่าง 20 - 29 ปี มากที่สุด ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด โดยมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 5000 บาท และสมาชิกในครัวเรือน 5 -6 คนมากที่สุดที่นิยมบริโภคลูกหยีกวน 2) ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวน โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนมากที่สุด คือรสชาติ ส่วนความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวันที่อยู่ในลำดับท้ายสุด คือความชัดเจนของป้ายแสดงราคา 3) ปัจจัยที่มีสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวน คือจำนวนสมาชิกในครอบครัวมีผลการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสมาชิกในครอบครัวมากตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป ให้ความสำคัญปัจจัยด้านคุณภาพในการตัดสินใจเลือกร้านค้าเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนมากกว่าผู้บริโภคที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อย ตั้งแต่ 4 คนลงมา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้บริโภค พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับสภาพที่ๆ ซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนพบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท จะซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีกวนจากร้านขายของฝาก/ของที่ระลึก มากกว่ากิลุ่มรายได้อื่น ๆ 5) ข้อเสนอแนะสำหรับ ผู้ผลิตลูกหยีกวน ในส่วนผลิตภัณฑ์ควรมีข้อความบอกถึง คุณประโยชน์ของลูกหียตลอดจนคุณค่าทางโภชนาการให้ชัดเจนจะทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจ และเพิ่มมูลค่าในตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3377
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147562.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons