Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3834
Title: | การศึกษาสภาพการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 |
Other Titles: | Study of conditions of school curriculum development and implementation of schools under the Office of Buriram [i.e. Buri Ram] Educational Service Area, Zone 4 |
Authors: | จันตรี คุปตะวาทิน ศราวุธ โรจนาวรรณ, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การศึกษา--หลักสูตร หลักสูตร การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 (2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะสภาพการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 192 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรทั้งหมด 633 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 59 คน ครูผู้สอน จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่1 สอบถามข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนและสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สอบถามสภาพการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในภารกิจ 4 ด้าน คือ ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการวางแผนและการจัดทำหลักสูตร ด้านการใช้หลักสูตร และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ตอนที่ 1 ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ตอนที่ 2 ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 3 ใช้ค่าความถี่ ในการเรียงลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 มีการปฏิบัติในระดับมาก ทุกภารกิจ (2) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ด้านการวางแผนและการจัดทำ หลักสูตร รองลงมาคือ ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการใช้หลักสูตร และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3834 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_85530.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 659.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License