กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3923
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด กรณี : ศึกษาเฉพาะในศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems of special measure applied to proceedings recidivism in drug case: case study of the Pathum-Thai Provincial Juvenile and Family Court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ จุฑามาศ เพชรเปล่งสี, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายยาเสพติด การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับ การดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กและเยาวชน (2) ศึกษาบทบัญญัติ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน ทั้งในส่วนของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมาย เกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (4) ศึกษาแนวทางในการน้ามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตำรา สารนิพนธ์ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย ค้าพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเอกสารวิชาการทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อรวบรวม ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาท้าการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด กรณีศึกษาเฉพาะในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี พบว่า (1) ศาลมีการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดค่อนข้างน้อย ท้าให้เด็กและเยาวชนไม่ได้รับโอกาสในการเข้าสู่กระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟู (2) ปัญหาการสำนึกในการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนทั้งในส่วนของราชอาณาจักรนิวซีแลนด์, เครือรัฐออสเตรเลียและประเทศไทยล้วนมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการสำนึกผิดไว้ในขั้นตอนของการประชุมกลุ่มครอบครัว โดยประเทศไทยการสำนึกในการกระทำผิดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจบ่งชี้ได้ชัดแจ้งว่าขนาดใดเพียงใดที่จะถือเป็นการสำนึกผิดอย่างแท้จริง (3) การให้ความยินยอมของผู้เสียหายในคดียาเสพติดที่ไม่อาจใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 90 (4) การใช้ดุลพินิจของศาลที่เคร่งครัดเกินไปในการพิพากษาตัดสินลงโทษในคดียาเสพติดมากกว่าการให้โอกาสเด็กและเยาวชนได้ใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา จึงควรให้มีการน้ามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาใช้ในการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดให้มากเพื่อเป็นการแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166513_จุฑามาศ เพชรเปล่งสี.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License