กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/421
ชื่อเรื่อง: | การจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นใช้สิทธิลาออกโดยไม่สุจริต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Restriction to rights of election candidates : a case study where the members of the House of Representatives, Senators, Local Council Members, and local administrators using dishonest resignation rights |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ชนม์พิชญ์ เทพแก้ว, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ภาณินี กิจพ่อค้า |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา--การเลือกตั้ง การลาออก--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่องการจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ใช้สิทธิลาออกโดยไม่สุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นและการจำกัดสิทธิดังกล่าว กรณีการลาออกก่อนครบวาระที่มีเจตนาสมัครรับเลือกตั้งใหม่ ในตำแหน่งเดิมโดยไม่สุจริต วิเคราะห์ข้อกฎหมายและผลกระทบจากซึ่งเกิดความเสียหายต่อระบบการเลือกตั้ง และงบประมาณของประเทศ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน การสัมมนา รวมตลอดถึงข้อมูลสารสนเทศ บนอินเทอร์เนตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า การลาออกก่อนครบวาระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อเหตุผลบางประการ เช่น ลาออกเพื่อสมัครในตำแหน่งเดิม หรือลาออกเพื่อหวังผลทางการเมืองแก่ตนเองหรือพวกพ้อง หรือทำให้ผู้อื่นเสียเปรียบในการสมัครรับเลือกตั้ง ถือเป็นการลาออกโดยมีเจตนาไม่สุจริต เป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ ขัดหลักสุจริต ไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ถึงแม้การลาออกเป็นสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของแต่ละบุคคล แต่การลาออกโดยมีเจตนาไม่สุจริตต่อการ สมัครส่งผลกระทบต่อระบบการเลือกตั้ง สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐ กฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องคุ้มครองสิทธิ ของบุคคลเหล่านั้น ควรมีวิธีการป้องกันปัญหาจากใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้มีการเลือกตั้งบ่อย ลดความเสียหาย ต่อประโยชน์ของรัฐ และป้องกันนักการเมืองอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในการจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งบุคคลที่ลาออกโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือมีพฤติการณ์ แวดล้อมไม่สุจริตต่อการสมัครในตำแหน่งที่ลาออก ซึ่งหวังผลทางการเมืองแก่ตนเองหรือพวกพ้อง ต้องจำกัดสิทธิ ในการสมัครรับเลือกตั้ง โดยเสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ของผู้ที่ลาออกจากตำแหน่งโดยใช้สิทธิไม่สุจริต ดังนี้ “ผู้ใดลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ หากมีพฤติการณ์ หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่สุจริตอย่างใดอย่างหนึ่งต่อการสมัครรับเลือกตั้ง จะสมัครรับเลือกตั้ง ในตำแหน่งที่ลาออกอีกมิได้” |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/421 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib153728.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 49.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License