กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/433
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of a guidance activity package based on group activity on peer adjusment of Mathayom Suksa I students Satriphuket School in Phuket province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัญจวน คำวชิรพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา วรนุช แหยมแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา จุรีพรรณ พูลศรี, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์ การแนะแนว--เครื่องมือ กิจกรรมของนักเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปึที่ 1 โรงเรียนสตรึภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดย (1) เปรียบเทียบการปรับคัวกับเพื่อนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุด กิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มและ(2)เปรียบเทียบการปรับตัวกับเพื่อนระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มและกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการกลุ่มดังนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มาแผนการเรียนละ 1ห้อง จำนวน 159 คน และเลือกห้องที่มีคะแนนการปรับตัวกับเพื่อนตํ่า ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 40 คน แล้วสุ่มตัวอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มสำหรับกลุ่มทดลอง (2) กิจกรรมแนะแนวปกติสำหรับกลุ่มควบคุม (3) แบบวัดการปรับคัวกับเพื่อนซึ่งผูวิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยง (Reliability)เท่ากับ .87 สถิติที,ใช้ในการวิเคราะห์ช้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและ การทดสอบค่าทีผลการ่วิจัยพบว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มนักเรียนมีคะแนนการปรับตัวกับเพื่อนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการปรับตัวกับเพื่อนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/433 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License