กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/459
ชื่อเรื่อง: การนำนโยบายแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Implementation of policies to solve the problem of illegal immigrant workers : a case study of Mae Sot District, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ตู้ทองคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรนันท์ ลาวัณย์รัตนกุล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
นโยบายแรงงาน -- ไทย -- ตาก
แรงงานต่างด้าว
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) โครงสรัางกระบวนการ ขั้นตอน รูปแบบวิธีการและลักษณะในการนำนโยบายการแกัใขปัญหาแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (2) ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรคของการนำนโยบายแก้ปัญหาแรงงาน ต่างด้าวผิดกฎหมายไปปฎิบัติในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผลการศึกษา พบว่า (1 ) การนำนโยบายการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไปปฏิบัติในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีโครงสรัางการทำงานร่วมกันของหน่วยงานแบบโครงสร้างหน้าที่ภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ที่คณะอนุกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าฟ้อง (ก.บ.ร.) กำหนด ด้านกระบวนการนำนโยบายไม่ปฎินัติ นั้นหน่วยงานรัฐจะมีการประชุมวางแผนขั้นตอนการทำงานโดยมีการประชุมปีละครั้ง ปฎิสัมพันธ์หรือการสื่อสารระหว่างหน่วยงานเป็นแนวราบและระบบราชการ รูปแบบ การนำนโยบายไปปฎิบัติของคณะอนุกรรมการพิจารณาการทำงานจังหวัดตากเป็นแบบจุลภาค ไม่มีงบประมาณและไม่มีอำนาจการตัดสนใจ วิธีการนำนโยบายไปปฎิบัติของหน่วยงานรัฐจะมีลักษณะต่างคนต่างทำ งบประมาณและทรัพยากรด้านการบริหารต่าง ๆ จะได้รับจากกระทรวงต้นสังกัดโดยตรง และมีการรายงานผลหรือปัญหาต่าง ๆ ไปยังกระทรวงต้นสังกัด และต่อที่ประชุม กบร. ที่กระทรวงแรงงานดังนั้น ลักษณะการนำนโยบายไปปฎิบัติ จึงรูปแบบเป็นอำนาจรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง (2) ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนได้แก่ปัจจัยด้านการบริหารองค์การ ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ขั้นตอนการทำงาน ของเจ้าหนัาที่รัฐที่ขาดการกรุณาการการทำงานร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งของนโยบายสาธารณะ รวมถึงอุปสรรคด้านภูมีประเทศของอำเภอแม่สอดทำให้มีปัญหาด้านความเป็นไปใด้ในการนำนโยบายไปปฎิบัติ และการขาดการส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฎิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/459
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108606.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons