กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4699
ชื่อเรื่อง: ผลของการสอนตามกระบวนการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสำหรับนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of the Four Noble Truths problem solving process teaching on the topic of Buddhist Dhamma Precepts for first year vocational certificate students of Si Sa Ket Industrial and Community Education College
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมนทิพย์ บุญสมบัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรรเพชญ ขุนธิวงศ์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
การสอน
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการสอนตามกระบวนการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2546 วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ที่ได้มาจากการสุ่มโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการสอนตามกระบวนการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ รวม 8 ชั่วโมง แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยกระบวนการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 ของนักศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4699
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_83480.pdfเอกสารฉบับเต็ม790.14 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons