Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/506
Title: | อนาคตภาพของรูปแบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า |
Other Titles: | Scenario of an evaluation and external quality assurance model of higher education in the next decade |
Authors: | ทนง ทองภูเบศร์ ประกอบ คุณารักษ์ วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ กิจพิณิฐ อุสาโห สุคนธ์ทิพย์ ทินาภรณ์ |
Keywords: | ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Citation: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), หน้า 161-177 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ปรากฏการณ์และองค์ประกอบของรูปแบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษา และ 2) พัฒนาอนาคตภาพของรูปแบบ ฯ ในทศวรรษหน้า ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิค EDFR ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญ 21 คน ประกอบด้วย ผู้มีอำนาจโดยตรงและโดยอ้อมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษา ผู้มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานสนองตอบนโยบายเกี่ยวกับการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก นักวิชาการ และ ผู้ใช้บัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรากฏการณ์และองค์ประกอบของรูปแบบการประกันคุณภาพอุดมศึกษาภายนอก มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) กระบวนทัศน์ของสถาบันอุดมศึกษาที่เปลี่ยนจากฐานทฤษฎีสู่ฐานปฏิบัติ (2) เป้าหมายสู่การร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อเสริมสิ่งที่ตนเองไม่ถนัด (3) มิติเกณฑ์ การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มแล้วกำหนดเกณฑ์กลางที่วัดทั้งประสิทธิภาพและสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษา (4) นวัตกรรมวิธีการที่มุ่งประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกที่ผลลัพธ์ โดยให้อิสระกับกระบวนการผลิตของสถาบันอุดมศึกษา และ (5) ความเชื่อมั่นในการติดตามผลลัพธ์และผลกระทบควรติดตามทุกปี เพื่อการประเมินตั้งแต่ต้นทางในลักษณะการประเมินเพื่อการพัฒนา และ 2) อนาคตภาพของรูปแบบ ฯ ในทศวรรษหน้ามี 4 องค์ประกอบหลัก คือ (1) แนวคิดของรูปแบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลง การขับเคลื่อน ความยืดหยุ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบทบาทผู้เรียน (2) องค์ประกอบของรูปแบบ ฯ มี 5 องค์ประกอบ คือ กระบวนทัศน์ เป้าหมาย มิติเกณฑ์ นวัตกรรมวิธีการ และความเชื่อมั่น (3) แนวโน้มของรูปแบบ ฯ และ (4) กระบวนการของรูปแบบ ฯ ซึ่งทุกองค์ประกอบมีสัมพันธ์เชื่อมโยงกันนำไปสู่คุณภาพการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโลกยุคใหม่ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/506 |
ISSN: | 1905-4653 |
Appears in Collections: | STOU Education Journal |
This item is licensed under a Creative Commons License