กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5325
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนโดยใช้สื่อ DLIT ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between instructional leadership of school administrators and instructional behavior of using distance learning information technology of teachers in schools under Pathum Thani Primary Education Service Area Office 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โสภนา สุดสมบูรณ์ เสาวลักษณ์ ชัยสอน, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ปทุมธานี ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ปทุมธานี การสอนด้วยสื่อ--ไทย--ปทุมธานี การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมการสอนโดยใช้สื่อ DLIT ของครูในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนโดยใช้ลื่อ DLII ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 148 คน ได้มาจากการลุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมการสอนโดยใช้สื่อ DLIT ของครูมีค่าความเที่ยง 0.919 และ 0.916 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ และด้านการสร้างแรงจูงใจให้ครู 2) พฤติกรรมการสอนโดยใช้สื่อ DLIT ของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับคือ การสอนโดยการใช้ห้องเรียน DLIT การสอนโดยการใช้ห้องสมุดดิจิทัล การสอนโดยการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนโดยการใช้คลังข้อสอบ และการสอนโดยการใช้คลังข้อสอบและการสอน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนโดยใช้สื่อ DLIT ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5325 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161420.pdf | 19.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License