กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/532
ชื่อเรื่อง: | ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี เรื่องสามัญทัศน์ของโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนศรีวิกรม์บริหารธุรกิจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A computer-based learning package via network in c programming language on basics of c programming language for students in vocational diploma education programme in business computer of Srivikorn business school |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพงษ์ แตงตาด, อาจารย์ที่ปรึกษา ชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา กะนุรัตน์ บัวพงษ์ชน, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์ การเขียนโปรแกรม (คอมพิวเตอร์) คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (2)ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาจากการเรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย และ (3) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายผู้วิจัยได้พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี เรื่องสามัญทัศน์ของโปรแกรมภาษาซี จํานวน 3 หัวข้อเรื่อง ประกอบด้วย (1)ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมภาษาซีและการใช้งานโปรแกรมภาษาซี (2) การเขียนโครงสร้างและองค์ประกอบของโปรแกรมภาษาซี (3) การเขียนโปรแกรมภาษาซีด้วยคําสั่ง printf(); คําสั่ง scanf(); พร้อมทั้งสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและการพัฒนาจนมีความยากง่าย ค่าอํานาจจําแนก และค่าความเที่ยง ตามเกณฑ์ หลังจากนั้นได้นําชุดการเรียนไปทดลองใช้แบบเดี่ยวจํานวน 3 คน ทดลองแบบกลุ่ม จํานวน 10 คน และได้นําไปทดลองภาคสนาม จํานวน 30 คน กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจโรงเรียนศรีวิกรม์บริหารธุรกิจ ผู้วิจัยได้นําข้อมูลจากการวิจัยมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการเรียนโดยใช้สถิติ E1/E2 t-test ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า (1)ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอยู่ในระดับเหมาะสมมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/532 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License