กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/543
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่มีต่อการรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสหราษฏร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of the integrated guidance activity packages on self-awareness and self-esteem of Mathayom Suksa II students of Saharajrangsarid school in Nakhon Phanom province in the 2002 academic year
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจียรนัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อังคณา เมตุลา, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
การแนะแนว--เครื่องมือ
กิจกรรมของนักเรียน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการที่มีต่อ (1) การรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน (2) การรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่อยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่มีความพร้อมต่างกัน (3) การรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีความพร้อมทางจิตต่างกัน และ (4) การรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีลักษณะชีวสังคมต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสหราษฎรรังสฤษดิ์ ปีการศึกษา 2545 จํานวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายและจัดนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มเป็นรายบุคคลได้จํานวนนักเรียน กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการจํานวน 10 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกด้วยกิจกรรมอื่น จํานวน 10 ครั้งเช่นกัน เครื่องมือที่ใช้มี 8 ชุด มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .81 ถึง .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการมีการรู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการ (2) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดีมากกว่า มีการรู้จักตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดีน้อยกว่า (3) การฝึกมีผลให้นักเรียนที่มีความเชื่ออํานาจในตนตํ่า มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึก และ (4) นักเรียนจากครอบครัวรายได้สูงที่ได้รับการฝึก มีการเห็นคุณค่าในตนเอง สูงกว่านักเรียนจากครอบครัวรายได้ตํ่าที่ไม่ได้รับการฝึก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/543
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82114.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons