กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/555
ชื่อเรื่อง: | การประเมินการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานด้านกระบวนการของโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An evaluation of internal quality assurance process standard of anubarn Suphan Buri school |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา คมศร วงษ์รักษา , อาจารย์ที่ปรึกษา นพวรรณ อินทร์แก้ว, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์ ประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนอนุบาล--การประเมิน.--ไทย ประกันคุณภาพการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานด้านกระบวน การของโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรีและ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานด้านกระบวนการของโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติการในโรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรีปีการศึกษา2545 เป็นผู้บริหาร 5 คน ครู 81คน นักเรียน 360 คน และผู้ปกครอง180 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามผู้บริหารครูนักเรียน และผู้ปกครอง เครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง .57 ถึง 1.00 และมีคาความเที่ยงอยู่ระหว่าง .86 ถึง .96 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของการประเมินการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานด้านกระบวนการในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายมาตรฐานพบว่า มาตรฐานด้านการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ทุกตัวบ่งชี้และมาตรฐานด้านสถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเกือบทุกตัวบ่งชี้ยกเว้นตัวบ่งชี้ที่ 1 มาตรฐานสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายมีคุณภาพอยู่ในระดับ พอใช้ 2.ปัญหาและอุปสรรคของการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานด้านกระบวนการสรุปผลได้ดังนี้ (1) การจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา มีปัญหาที่สําคัญคือการนิเทศและการประเมินผลยังปฏิบัติได้น้อย การจัดองค์กรดีแต่การปฏิบัติไม่ตรงตามเป้าหมาย และแผนที่กําหนดไว้ (2) การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มีปัญหาที่สําคัญ คือ ผู้ปกครองยังมีบทบาท มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาและ ประเมินผลงานของนักเรียนน้อย ยังไม่มีการประชุมผู้ปกครองเป็นสายชั้น และผู้ปกครองส่วนใหญ่ไมสามารถเข้าร่วมประชุมตามที่ทางโรงเรียนนัดหมายได้(3) การจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มีปัญหาที่สําคัญ คือ ครูจัดกิจกรรมด้านดนตรี ศิลปะและกีฬาให้นักเรียน้อย การจัดกิจกรรมในห้องเรียนยังไม่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมํ่าเสมอ และขาดการติดตามผลการดําเนินงานกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม และจริยธรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/555 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License