กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5615
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mobile application development of Nakhon Sawan Teacher Savings Cooperative limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา ศิริลักษณ์ นามวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา มาลิณี ศริพันธ์, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเหมาะสมจาเป็นของแอปพลิเคชันของสหกรณ์ 2) ระดับความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชันสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับระดับความเหมาะสมจำเป็นของแอปพลิเคชันของสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับระดับความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชันสหกรณ์ และ 5) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ จำกัด ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.48 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 32,849.38 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 13.80 ปี ส่วนใหญ่ตำแหน่งหน้าที่การปฏิบัติงานข้าราชการครูหรือครูผู้สอน ใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน รองรับระบบแอนดรอย์ และประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันธนาคารมากที่สุด 1) ระดับความเหมาะสมจาเป็นแอปพลิเคชันของสหกรณ์ ด้านเมนูหลักโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับสูงที่สุดคือ ทุนเรือนหุ้น และเงินฝาก ตามลำดับ ด้านรูปแบบการใช้งานแอปพลิเคชันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับสูงที่ที่สุด คือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และความรวดเร็วในการใช้บริการ ตามลำดับ 2) ระดับความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชันสหกรณ์ ด้านการบริการทั่วไป และด้านบริการทางการเงิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับต้องการการพัฒนาสูงที่สุด คือ การตรวจสอบการคำนวณสิทธิการกู้เงินฉุกเฉิน เงินกู้สามัญในเบื้องต้น และการโอนเงินภายในสหกรณ์ซื้อหุ้นเพิ่มของสมาชิก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับระดับความเหมาะสมจำเป็นของการใช้แอปพลิเคชันด้านเมนูหลัก และรูปแบบการใช้งานแอปพลิเคชันสหกรณ์ โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับระดับความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชันสหกรณ์ทั้งด้านบริการทั่วไปและ ด้านการบริการทางการเงิน 5) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันของสหกรณ์ คือ (1) ปรับรูปแบบการลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชันหลังจากการดาวโหลดแอปพลิเคชันที่ชัดเจนและง่ายขึ้น (2) ปรับแถบเมนูหลักและความหมายของรูปภาพ รวมถึงการให้สีแสดงความหมายที่ชัดเจนมากขึ้น และ (3) พัฒนารูปแบบบริการทั่วไป บริการทางการเงินและบริการอื่นของสหกรณ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกและสหกรณ์มากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5615 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License