กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/586
ชื่อเรื่อง: การประเมินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาอำเภอสวี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพรเขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of internal quality assurance in Sawi District primary Schools, Office of Chumphon educational service area, Zone Two
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมถวิล วิจิตรวรรณา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยินดี ทองคำ, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ประกันคุณภาพภายใน
ประกันคุณภาพการศึกษา
การศึกษาขั้นประถม--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา อําเภอสวี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 (2) ประเมินผลผลิตของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา อําเภอสวี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่เกิดจากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา อําเภอสวี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร 41คน ครู186 คน ผู้ปกครอง 370 คน นักเรียน 370 คน หัวหน้าการประถมศึกษา1คน และศึกษานิเทศก์1คน รวม 969 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเตรียมการ การดําเนินงาน และการรายงานผล ก็มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน (2) ผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับคุณภาพดี ด้านผู้เรียน และด้านปัจจัย อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการประกันคุณภาพ และมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการ ปฏิบัติในระดับมาก ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายใช้ผลการประกันคุณภาพเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพในระดับมาก (3) ปัญหาอุปสรรคที่สําคัญคือ มีบุคลากรไม่เพียงพอ มีข้อจํากัดด้านงบประมาณ ขาดแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย และมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดําเนินงานไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะที่ต้องดําเนินการคือ จัดให้มีบุคลากร งบประมาณ แหล่งการเรียนรู้ที่ทันสมัย และมีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการทํางานอย่างเพียงพอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/586
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82867.pdfเอกสารฉบับเต็มรูป1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons