กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5898
ชื่อเรื่อง: กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเกาหลีและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public order act : a comparative study between the laws of Thailand, United Kingdom, Republic of Korea and Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวนีย์ อัศวโรจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติพล บุตโคต, 2531- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิการชุมนุม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ หลักการว่าด้วยเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม สาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เปรียบเทียบกบกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ของต่างประเทศศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสาร หนังสือ บทความ ทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า เดิมนั้นประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พนักงาน เจ้าหน้าที่จึงต้องนําบทบัญญัติในกฎหมายต่าง ๆ มาบังคับใช้กับการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้น แต่การนํากฎหมาย ต่าง ๆ มาบังคับใช้พนักงานเจ้าหน้าที่มิได้คํานึงถึงเสรีภาพในการชุมนุมซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มุ่งแต่จะให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมเท่านั้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง แต่บทบัญญัติตามกฎหมายนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในการนําไปบังคับใช้ได้ เนื่องจากมีบทนิยามที่ให้ความหมายของผู้จัดการชุมนุมที่มิได้คํานึงถึงข้อเท็จจริงว่าจะต้องจัดการชุมนุมโดย แท้จริง การกำหนดข้อห้ามชุมนุมในบางสถานที่อันทําให้ไม่อาจสะท้อนปัญหาของผู้ชุมนุมให้แก่หน่วยงานของรัฐที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการแก้ไขปัญหาได้ และมิได้วางหลักเกณฑ์การเดินขบวนสาธารณะไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการบังคับใช้ได้ เห็นสมควรบัญญัติแก้ไขเพิ่ มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม สาธารณะเพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่มีความชัดเจนลดปัญหาในการบังคับใช้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เสรีภาพในการ ชุมนุมอยางแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5898
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_157083.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons