กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/592
ชื่อเรื่อง: | การติดตามผลการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นวิชาคอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A follow-up study of provision of the Short vocational training course on computers of Pathum Thani Non-fomal Educational Center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญเลิศ ส่องสว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา จิตพิสุทธิ์ สกุลพอ, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ --วิทยานิพนธ์ คอมพิวเตอร์--การฝึกอบรม การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย--ปทุมธานี การศึกษาทางวิชาชีพ--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ติดตามผลการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นวิชาคอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีเกี่ยวกับ ด้านหลักสูตร ด้านฺสื่อและอุปกรณ์ ด้านรูปแบบการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และ (2) ศึกษาการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจัาวันของผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นวิชาคอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและจบการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น คอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานี จำนวน 219 คน เครื่องมึอที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การติดตามผลการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นวิชาคอมพิวเตอร์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานึนั้นพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่สนใจที่จะเรียนระหว่าง วันจันทร์-วันศุกร์ช่วงเวลา 9.00-12.00 น. มากที่สุด ส่วนด้านหลักสูตรที่ผู้สำเร็จการศึกษาได้ร้บความรู้ ชึ่งเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักสูตรไมโครชอฟท์วินโดว์อยู่ในระดับมาก หลักสูตรไมโครชอฟท์เวิร์ด หลักสูตรไมโครซอฟท์เอกเชล และหลักสูตรไมโครซอฟท์เพาว์เวอร์พอยท์ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านสื่อและอุปกรณ์มีเพียงพอกับผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านรูปแบบการเรียนการสอน เรียงลำดับได้ดังนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติม เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการปฏิบัติกิจกรรม และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ด้านการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลักสูตรไมโครซอฟท์วินโดว์ได้แก่ การดูหนังฟังเพลงอยู่ในระดับมาก หลักสูตรไมโครซอฟท์เวิร์ด ได้แก่ การพิมพ์รายงานอยู่ในระดับมาก หลักสูตรไมโครซอฟท์เอกเซล ได้แก่ การสร้างตารางอยู่ในระดับมาก และหลักสูตรไมโครซอฟท์เพาว์เวอร์พ้อยท์ได้แก่ การสร้างภาพเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปานกลาง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/592 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License