กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6132
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of the lower secondary level of Non-formal and Informal Basic Education Curriculum, B.E. 2551 (Revised Edition B.E.2555) of Mueang District Non-formal and Informal Education Center, Samut Prakan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
มีนา แซ่ลิ้ม, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรปราการ
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--หลักสูตร--การประเมิน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--สมุทรปราการ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองสมุทรปราการ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนสอน และ 3) ด้านสถาบัน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร 1 คน ครู 33 คน บุคลากร 4 คน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองสมุทรปราการ และนักศึกษา 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครี่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษา แบบสอบถามเกี่ยวกับหลักสูตร และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ผลคะแนนการทดสอบระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะสําคัญของนักศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคุณธรรมของนักศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดชั้นเรียนและตารางสอน เนื้อหาวิชา วิธีการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวก ผลประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน แต่งบประมาณไม่ผา่นเกณฑ์การประเมิน และ 3) ด้านสถาบัน ได้แก่ คุณลักษณะ และพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนของครู และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน แต่การสนับ สนุนการเรียนของผู้ปกครอง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6132
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_156753.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons