กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6178
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านเรื่องไฟฟ้าสถิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of learning management using flipped classroom model in the topic of electrostatics on learning achievement and inquiry ability of Mathayom Suksa VI Students in Krabi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุกรี แวอีแต, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา --วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) --ไทย--กระบี่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิตย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกระบี่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึก ษาปัที่ 6 จังหวัดกระบี่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน ใน 2 ห้องเรียนของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ จังหวัดกระบ่ี ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน เร่ือง ไฟฟ้าสถิตย์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิตย์ และ (3) แบบวัดความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับ ด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านมีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้สููงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6178 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_157838.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License