กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6220
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาเรื่องสารในชีวิตประจำวันที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of learning management using STEM education in the topic of substances in everyday life on problem solving ability and creative thinking of Prathom Suksa VI students at middle sized primary school in Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินต์์ วิศวธีรานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน พินสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนาถ ยาฝาด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณทิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา --วิทยานิพนธ์
การแก้ปัญหา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา (2) เพ่ือเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา (3) เพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักัเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา และ (4) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ระหว่างความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 22 คน ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัด การเรียนรู้โดยใชแ้ นวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 59.09 และส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 45.46 และ (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษามีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเร่ิมตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_158638.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons