กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6307
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The internal quality assurance operation of private non-formal education schools in Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิธร บัวทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ, 2526
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ประกันคุณภาพการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์พื้อ (1) ศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการประกัน คุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จำแนกตามเพศ อายุตำแหน่งงาน และกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาตผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนเอกชนนอกระบบจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 92 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามคุณลักษณะของกลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประเมินค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนอกระบบโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ ครูมีความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนและประพฤติตนเหมาะสมกับวิชาชีพครู การจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามหลัก สูตรอย่างมีประสิทธิภาพ การมีกระบวนการวัด และประเมินผลผู้เรียนตรงตามสภาพจริง การมีผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์การมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับ สูง การมีหลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน/ท้องถิ่น และสังคม การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ชุมชนในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การมีระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ การมีผู้บริหารเป็นผู้นำระดับมืออาชีพ การมีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องประกอบ/สถานที่ฝึกปฏิบัติ และสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับหลักสูตรและเพียงพอต่อการใช้ง้าน การมีปรัชญาและเป้าหมายของโรงเรียนเหมาะสมและใช้เป็นเครื่องชี้นำการดำเนินงานของโรงเรียนได้้ และการมีบริการและสวัสดิการที่จัดให้แก่ผู้เรียนทั่วถึงและเพียงพอ และ (2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่งงาน และกลุ่ม โรงเรียนพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ของอายุพบว่า กลุ่มที่มีอายุุ 41 ปี ขึ้นไปมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนแตกต่างกับ กลุ่มอายุระหว่าง 21-30 ปี และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ของกลุ่มโรงเรียน พบว่า กลุ่มโรงเรียนสอนสร้างเสริมทักษะชีวิตมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการประกัน คุณภาพภายในโรงเรียนแตกต่างกับกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนวิชาชีพ และโรงเรียนสอนศิลปะและการกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6307
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_159881.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons