กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/630
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อและพิธีกรรมของประชาชนที่มีต่อพระพิฆเนศ : กรณีศึกษาเทวสถานในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Beliefs and rites of people towards the ganesha : a case study of hindu shrines in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรียา หิรัญประดิษฐ์
นักรบ นาคสุวรรณ์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิรัสสา คชาชีวะ
ประเมษฐ์ บุณยะชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พระพิฆเนศ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะความเชื่อและบทบาทของพระพิฆเนศที่มีต่อประชาชนและ 2) ศึกษารูปแบบพิธีกรรมและสัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมของประชาชนที่มีต่อพระพิฆเนศวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และการสังเกตจากพราหมณ์และผู้รู้ 10 คน ผู้ที่มาสักการะพระพิฆเนศ ณ เทวสถาน 42 คน เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการค้าบริเวณเทวสถาน 6 คน อธิบายผลการวิจัยในลักษณะการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความเชื่อว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งความสำเร็จมากที่สุด รองลงมาคือเทพแห่งศิลปะวิทยาและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เครื่องรางของขลังตามลำดับ ความเชื่อดังกล่าวได้รับการบอกเล่าจากพราหมณ์ จากหนังสือ ได้ผลสำเร็จกับตนเองและจากคติความเชื่อเดิมบทบาทของพระพิฆเนศที่มีต่อประชาชนเรียงตามลำดับดังนี้คือ บทบาทในการประทานความสำเร็จอันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของตนเองดีขึ้นและมีความมั่นใจในการใช้ชีวิต บทบาทของพระพิฆเนศในฐานะเทพบรมครูแห่งศิลปศาสตร์เพื่อให้เกิดความสำเร็จและเจริญรุ่งเรื่องในอาชีพ และบทบาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประทานความปลอดภัยและโชคดี และ 2) รูปแบบพิธีกรรมของประชาชนที่มีต่อพระพิฆเนศ มีการไหว้แบบไหว้พระพุทธรูปในศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมาเป็นการผสมผสานกันระหว่างการไหว้พระในพุทธศาสนาและการไหว้เทพในศาสนาฮินดู สุดท้ายคือการไหว้เทพในศาสนาฮินดู ส่วนสัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม ประชาชนจะใช้เครื่องสังเวยบูชาตามที่แต่ละเทวสถานจัดบริการไว้ให้ ความหมายของเครื่องสังเวยบูชา ประชาชนจะให้ความหมายตามพราหมณ์และผู้รู้หรือหนังสือแต่บางส่วนก็ไม่สามารถบอกความหมายได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (1).pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons