กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/648
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A guidance center model for small secondary schools in Kanchanaburi educational service area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจีนรนัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรินทร์ เลิศอาวาส, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
การแนะแนว--แบบจำลอง
การแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองศูนย์แนะแนวที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์แนะแนวสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 193 คนไต้มาโดยการเสือกแบบเจาะจง ประกอบต้วย (I) ผู้ให้บริการจำนวน 20 คน (2) ผู้รับบริการจำนวน 120 คน (3) ผู้สนับสนุนงานแนะแนวจำนวน 30 คน (4) ผู้เชี่ยวชาญต้านงานแนะแนวจำนวน 18 คน และ (5) ผู้ทรงคุณๅฒิที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนวจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ให้บริการแนะแนว ผู้รับบริการแนะแนว และผู้สนับสนุนงานแนะแนว ใช้แบบสอบถามโดยใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านงานแนะแนว และใช้แบบประเมินกับกลุ่มผู้ทรงคุณๅฒิที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในเขตพี้นที่การศึกษากาญจนบุรีได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิว่าเป็นแบบจำลองที่ดี สามารถนำไปใช้เป็น แนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์แนะแนวได้ องค์ประกอบของศูนย์แนะแนวที่สำคัญคือ ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมาย นโยบาย ภารกิจ การจัดองค์กร บุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความ สะดวก และงบประมาณ ลักษณะเด่นของศูนย์แนะแนว ได้แก่ มีคณะกรรมการแนะแนวร่วมกันบริหารงานแนะแนวภายใต้การนำของผู้บริหารโรงเรียนที่มีเจตคดีดีต่องานแนะแนว บุคลากรในศูนย์แนะ แนวประกอบด้วยครูแนะแนว และครูช่วยงานแนะแนวที่มีความรู้ทางการแนะแนว สถานที่ตั้งศูนย์แนะแนวควรอยู่ในอาคารเรียนที่เป็นศูนย์กลางของโรงเรียนมีขนาด 2 - 3 ห้องเรียน ซึ่งจัดแบ่งเป็นห้อง ให้บริการปรึกษาเป็นรายบุคคล และห้องให้บริการปรึกษาเป็นกลุ่ม ในศูนย์แนะแนวควรมีข้อสนเทศด้านการศึกษา ต้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม ชุดกิจกรรมและแบบทดสอบทางการแนะแนวไว้บริการ ศูนย์แนะแนวควรไต้รับเงินงบประมาณประจำในการบริหารศูนย์แนะแนว และการจัดบริการแนะแนวทั้ง 5 บริการหลัก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/648
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83174.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons