Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/654
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย ในจังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Factors associated with the hypertension prevention and control of health centers in Suphan Buri Province
Authors: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขนิษฐา วัฒนจินดาเลิศ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย คุณลักษณะประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และกระบวนการบริหารงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (2) การบริหารจัดการสถานีอนามัย (3) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การบริหารจัดการสถานีอนามัยกับผลการดำเนินงาน และ (5) ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย ในจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2550 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัย จํานวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเพียง 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38 ปีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 8.8 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง และมีการทำงานตามกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (2) สถานีอนามัย มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบเฉลี่ย 6 หมู่ จำนวนประชากรในความรับผิดชอบ 4,102 คน มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำเฉลี่ย 3 คน (3) ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน คือ การทํางานตามกระบวนการบริหารงานป้องกันและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่ การวางแผน การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุมงาน ยกเว้นด้านการจัดองค์การ และ (5) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบ ได้แก่ จำนวนบุคลากร ไม่เพียงพอ สื่อสุขศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนมีความล่าช้าหรือไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ผู้รับผิดชอบงานมีการใช้กระบวนการบริหารงานในการทำงาน และให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/654
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108774.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons