Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6578
Title: ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Marketing communication factors influencing buying behaviors of functional drink of consumers in Bangkok Metropolis and Vicinity
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ
ศุภรัตน์ ปรีชาเดช, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
เครื่องดื่ม--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
การสื่อสารทางการตลาด
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) พฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (3) ส่วนประสมการสื่อสาร การตลาดของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อ และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 เป็นเครื่องมือในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ 10,000-20,000 บาท/เดือน (2) พฤติกรรมการซื้อ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามคุณประโยชน์เพื่อความสดชื่นผ่อนคลาย ตราสินค้า เซปเป้ บิวติ ดริ๊งค์ บรรจุภัณฑ์เป็นแบบขวดพลาสติกพร้อมดื่ม สาเหตุที่ซื้อเพราะทราบคุณประโยชน์ ซื้อเพื่อดื่มเอง บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อคือตัวเอง ไม่มีโอกาสที่แน่นอนในการซื้อ ซื้อที่ร้านสะดวกซื้อ ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งที่ซื้อต่ำกว่า 50 บาท ความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (3) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนประสมการสื่อสารการตลาดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการขาย และการขายโดยบุคคล ในระดับปานกลาง (4) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ที่ระดับนัยทางสถิติ 0.05 และ (5) ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ที่ระดับนัยทางสถิติ 0.05 การขายโดยบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อในทุกๆ ด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6578
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122011.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons