Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6578
Title: ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Marketing communication factors influencing buying behaviors of functional drink of consumers in Bangkok Metropolis and Vicinity
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภรัตน์ ปรีชาเดช, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
เครื่องดื่ม -- การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
การสื่อสารทางการตลาด
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้ซื้อเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) พฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (3) ส่วนประสมการสื่อสาร การตลาดของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อ และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ 10,000-20,000 บาท/เดือน (2) พฤติกรรมการซื้อ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามคุณประโยชน์เพื่อความสดชื่น ผ่อนคลาย ตราสินค้า เซปเป้ บิวติ ดริ๊งค์ บรรจุภัณฑ์เป็นแบบขวดพลาสติกพร้อมดื่ม สาเหตุที่ซื้อเพราะทราบ คุณประโยชน์ ซื้อเพื่อดื่มเอง บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อคือตัวเอง ไม่มีโอกาสที่แน่นอนในการซื้อ ซื้อที่ ร้านสะดวกซื้อ ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งที่ซื้อต่ำกว่า 50 บาท ความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (3) ผู้บริโภคให้ ความสำคัญกับส่วนประสมการสื่อสารการตลาดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์การส่งเสริม การขาย และการขายโดยบุคคล ในระดับปานกลาง (4) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ที่ระดับนัยทางสถิติ 0.05 และ (5) ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ที่ระดับนัยทางสถิติ 0.05 การขายโดยบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ในทุกๆ ด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6578
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122011.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons