Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6663
Title: | ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 |
Other Titles: | Satisfaction with the application of professional learning community in school of teachers in Bang Pu Group Schools under Samut Prakan Primary Education Service Area Office 1 |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ ชลธิชา ปราบพาล, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ครู--ความพอใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา จาแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ (3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูจำนวน 176 คน ในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเมืองบางปู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ซึ่งได้มาจากกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณและคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา และแบบเลือกตอบเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสะท้อนผลการทำงานและปรับปรุงแก้ไข ด้านการลงมือปฏิบัติ ด้านการตรวจสอบแผนและกระบวนการนำไปใช้ และด้านการวางแผน ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาและจำแนกตามประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางพัฒนาการนำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในสถานศึกษา ด้านการวางแผน ควรมีการวางแผนการดำเนินงานล่วงหน้าเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการและกรอบระยะเวลา ด้านการลงมือปฏิบัติ ควรสนับสนุนสื่อที่ทันสมัย ซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้ดี ด้านการตรวจสอบแผนและกระบวนการนำไปใช้ ควรมีการบันทึกปัญหาที่พบ วิธีการแก้ไขปัญหาและสรุปร่วมกัน และด้านการสะท้อนผลการทำงานและปรับปรุงแก้ไขควรมีการประชุมสรุปผลการทำงาน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและวิธีการแก้ไขวิธีใหม่ ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6663 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_165739.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License