กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/670
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครูในอำเภอกุดบาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psycho-social factors related to standard level working behaviors of teachers in Gut Bak District under the office of Sakon Nakhon educational service area, zone 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ จันทร์กวี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิพวรรณ สีวาดมา, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
ครู--ภาระงาน.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครูที่อยู่ในสถานการณ์ทางสังคมต่างกัน (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครูที่มีจิตลักษณะต่างกัน และ (3) ศึกษาความสามารถในการทำนาย การปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครูด้วยกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นข้าราชการครูในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ในปึ การศึกษา 2546 จำนวน 150 คน ที่เลือกมาโดยอย่างง่าย ตัวแปรในการวิจัยมีทั้งสิ้น 7 ตัว ประกอบด้วยตัวแปรสถานการณ์ทางสังคม 3 ตัวแปร ตัวแปรจิตลักษณะ 3 ตัวแปร อีก 1 ตัวแปร คือ พฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครู เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า มีค่าความเที่ยงตั้งแต่ .82 ถึง .89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และ 3 ทาง การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ซึ่งกระทำทั้งในกลุ่มรวมและ กลุ่มย่อยที่แบ่งโดยใช้ลักษณะทางชีวสังคม หรีอภูมิหลังของข้าราชการครู ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานได้มาตรฐานสูงคือข้าราชการครูที่อยู่ในบรรยากาศองค์การที่ดี และมีความสำเร็จในงานสูง (2) ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานได้ มาตรฐานสูงคือ ข้าราชการครูที่มีแรงจูงใจใฝ่สมฤทธิ์สูง และมีเจตคติต่อการเรียนการสอนดีมาก และ (3) ตัวทำนายที่สำคัญของการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานของข้าราชการครู คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และบรรยากาศองค์การ โดยมีอำนาจการทำงานร่วมกันร้อยละ 58.20
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/670
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83273.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons