กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/674
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting practice behavior about patient advocacy of professional nurses in community hospitals, Khonkaen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา จิตรา มณีวงษ์, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พูลสุข หิงคานนท์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชุมชน พยาบาลกับผู้ป่วย--ไทย--ขอนแก่น สิทธิผู้ป่วย |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงอรรถาธิบายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ การรับรู้นโยบายของโรงพยาบาลและการสนับสนุนจากผู้บริหาร และพถุดิกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้นโยบายของโรงพยาบาลและการสนับสนุนจากผู้บริหาร ที่มีต่อพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุกับพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยใน ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 20 แห่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 364 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบที่มีความเที่ยงในหมวดความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ .75 .85 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีความรู้เรื่องการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 64.01 มีทัศนคติต่อการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 94.78 รับรู้ว่าใน องค์กรมีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยและมีการสนับสนุนจากผู้บริหาร ร้อยละ 68.41 มีพฤติกรรม การปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 98.08 (2) การรับรู้นโยบายของโรงพยาบาลและการสนับสนุนจากผู้บริหาร ทัศนคติ ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานที่ปฏิบัติ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 38 (R2= 0.38) (3) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุแตกต่างจากพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/674 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License