กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6771
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิติการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดน กรณีศึกษา กองบังคับการ สนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of working life of border patrol police : a case study of General Support Division, Border Patrol Police Bureau
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนฤดี สุขใส, 2523- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ตำรวจตระเวนชายแดน--ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมขององค์การที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และ (3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของ ตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 418 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำารวจตระเวนชายแดน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อมขององค์การมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (3) ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดนที่พบ ได้แก่ กำลังพลและอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ มีเวลาให้ครอบครัวไม่เพียงพอ มีหนี้สิน มีความรู้สึกอึดอัดเหมือนอยู่ในกฎระเบียบตลอดเวลา และได้รับเงินเดือนน้อย ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในปัจจุบัน แนวทางในการปรับปรุง ได้แก่ ควรจัดสรรกำลังพล พาหนะ อุปกรณ์ เครื่องมือให้เพียงพอและเหมาะสม ควรส่งเสริมให้มีกองทุนของหน่วยงานให้กูยืมเพื่อประกอบอาชีพเสริม ผู้บังคับบัญชาควรให้คำปรึกษาที่ดีและควรเพิ่มค่าตอบแทนให้เหมาะสม ตลอดจนจัดสถานที่เพื่อให้ครอบครัวข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนมีช่องทางในการหารายได้เสริม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6771
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltex_159413.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons