กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6808
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพัฒนากร : ศึกษากรณีการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approaches for empowered developers' role for operational sufficient economic philosophy : a case study of the Developer Improving Educational Community Service Center 8 Branch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราณี จินาบุญ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
พื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8
เศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนากร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างความ เข้มแข็งของพัฒนากรในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8 (2) ปัญหาและอุปสรรคใน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพัฒนากรในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8 (3) แนวทาง พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพัฒนากรในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่พัฒนากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนา ชุมชน เขตที่ 8 จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานีและนครศรีธรรมราชจำนวน 902 คน โดยใช้แบบสอบถามใน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 277 คนโดยการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน และใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต 8 จำนวน 4 คน สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพัฒนากรในพื้นที่ศูนย์ ช่วยเหลือทางวิชากรพัฒนาชุมชนเรียงตามความสามารถในการพยากรณ์ได้แก่ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถใน การปฏิบัติงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ บรรยากาศภายในองค์กร การเป็นผู้นาทางด้านวิชาการ การเป็นผู้ ประสานงาน การเป็นผู้ร่วมปฏิบัติงาน และ การเป็นผู้ส่งเสริมและเผยแพร่ทักษะตามลำดับ (2) ปัญหาและ อุปสรรคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพัฒนากรเรียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารและพัฒนากรจากมากไป น้อยได้แก่ปัญหาและอุปสรรคด้านงบประมาณเกี่ยวกับการขับเคลื่อนจำกัด การเตรียมการ การจัดกิจกรรมเพื่อให้ ขับเคลื่อนในหมู่บ้าน การขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การเพิ่มทักษะ การทบทวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ (3) แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและพัฒนากรได้แก่ รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับการขับเคลื่อน การเตรียมการอย่างรอบคอบ การจัดกิจกรรมเพื่อให้ ขับเคลื่อนในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง การขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีขอบข่ายกว้างมากขึ้น การเพิ่ม ทักษะการทำงานของพัฒนากร การทบทวนผลการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130837.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons