กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/685
ชื่อเรื่อง: สถานภาพและบทบาทของภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย ในสถานบริการของรัฐ : กรณีศึกษาศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles and status of the wisdom of Thai traditional massage in the public health service : a case study of the Thai Tradition Medicine Promotion Center, Institute of Thai Traditional Medicine, Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health, Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลักษณา ว่องประทานพร, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
การนวด--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย วิธีการนวดแผนไทยและการจัดตั้งสถานบริการนวดแผนไทยของรัฐ (2) เพื่อศึกษาสถานภาพและบทบาทของภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย ของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยสถาบันการแพทย์แผนไทยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสถานภาพและบทบาทของภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย สถาบันกฺารแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุขกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้รับบริการ 338 คน และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ให้บริการ 19 คน และผู้บริหาร 4 คน ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย และในกลุ่มงานอื่นของสถาบันการแพทย์แผนไทย เครื่องมีอที่ใช้ไนการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิดิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า (I) การแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะการนวดแผนไทย เกิดขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยมารุ่งเรื่องที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมความนิยมลงในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาได้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการนวดแผนไทยขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 โดยมีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยในส่วนภูมิภาคก่อน พ.ศ. 2545 และส่วนกลางที่กระทรวงสาธารณสุขเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นต้นแบบแก่สถานบริการนวดแผนไทย เป็นศูนยประสานงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค การนวดแผนไทยมี 2 แบบ คือแบบราชสำนักและแบบทั่วไป การนวดแผนไทยจะเน้นการนวดเพื่อการบำบัดรักษา (2) สถานภาพและ บทบาทภูมิปัญญาด้านการนวดแผนไทย ของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย พบว่าเกิดจากผู้รับบริการมีพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ เหตุผล และความพึ่งพอใจด้านบวกในระดับมาก ส่วนผู้ให้บริการมีศักยภาพ และมีทัศนคติ มี ความเชื่อมั่นในหลักทฤษฏีการนวดแผนไทย และผู้ให้บริการเห็นว่าสถานภาพและบทบาทภูมิปัญญาด้านการนวด แผนไทย เกิดจากทุนมนุษย์มากกว่าทุนทางสังคมอื่น รวมทั้งเกิดจากปัจจัยองค์กรด้านนโยบายและบทบาทหน้าที่ ที่มีศักยภาพ (3) แนวทางในการพัฒนาสถานภาพและบทบาทของภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย คือ ควร จัดสรรงบลงทุนทั้งด้านครุภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง กำลังคนและงบประมาณ พร้อมทั้งควรมีมาตรการด้านกฎหมายที่ มีผลบังคบใช้กำกับดูแลการนวดแผนไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนควรมีการยกระดับการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะการนวดแผนไทยให้เป็นสากล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/685
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (8).pdfเอกสารฉบับเต็ม18.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons