กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/702
ชื่อเรื่อง: ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการจากโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาหลักของผู้ประกันตน กองทุนประกันสังคม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expectation of service quality from main contractor hospital of beneficiaries under social security scheme in Mueang District, Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
เฉลิมพล ศรีเจริญ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ประกันสังคม
โรงพยาบาล--การควบคุมคุณภาพ
บริการทางการแพทย์--ไทย
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยด้านสถานประกอบการและความคาดหวังต่อบริการจากโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาหลักของผู้ประกันตน กองทุนประกันสังคม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ (2) เปรียบเทียบระดับความคาดหวังคุณภาพบริการในผู้ประกันตนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสถานประกอบการต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง 420 คน ได้จากการสุ่มแบบมีระบบจากผู้ประกันตน ที่ทำงานในสถานประกอบการ ที่มีผู้ประกันตน 20 คนขึ้นไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 พฤศจิกายน 2550 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งได้รับการทดสอบความเทียงแล้วเท่ากับ 0.9759 วิเคราะหข้อมูลด้วยร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบแบบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 71.2 อายุเฉลี่ย 30.09 ปี สภาวะสุขภาพแข็งแรง แต่มีเจ็บป่วยเล็กน้อยต้องไปพบแพทย์ 1-2 ครั้งต่อปี มากที่สุดร้อยละ 55.2 สถานภาพโสดมากที่สุดร้อยละ 53.6 รายได้เฉลี่ย 6,693 บาทต่อเดือน ระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่า มากที่สุดร้อยละ 38.3 ส่วนใหญ่ทำงานในสถานประกอบการที่มีผู้ประกันตนมากกว่าร้อยคน ร้อยละ 56.7 ทำงานอยู่ในภาคการบริการมากที่สุด ร้อยละ 50.7 และส่วนใหญ่สถานประกอบการอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 81.2 ผู้ประกันตนมีความคาดหวัง ต่อ คุณภาพบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ และการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ ความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก (2) ระดับของความคาดหวังต่อการบริการในผู้ประกันตนที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โรงพยาบาลควรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพในด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย การให้การบริการตามสิทธิ การให้บริการโดยแพทย์เฉพาะทาง การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล การพัฒนาด้านเครื่องมือแพทย์ ห้องสุขา การสร้างจิตสำนึกด้านการบริการแก่แพทย์ การทบทวนการจัดบริการพิเศษแก่ผู้ประกันตน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/702
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108729.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons