กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7088
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems and guidelines for basic minimum needs data collecting administration in Nakhonsawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธิพงษ์ วัดเมือง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ (2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาครั้งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัด นครสวรรค์ที่สำคัญ คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ค่าตอบแทนผู้จัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกและประมวลผล ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ยุ่งยากและไม่สะดวกต่อการใช้งาน ขั้นหลังดำเนินการหน่วยงานอื่นไม่ให้ความสำคัญ และไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) (2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าระดับการศึกษา อายุราชการ ระดับตำแหน่ง และพื้นที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต่างกัน มีความเห็นต่อปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ ที่สำคัญ คือ ขั้นเตรียมความพร้อมควรกำหนดค่าจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นโซนหรือเขตพื้นที่ตามระดับความยากง่ายหรือความหนาแน่นของหมู่บ้าน/ชุมชน ขั้นดำเนินการควรมีระบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกและประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ไม่ยุ่งยาก และสะดวกต่อการใช้งาน ขั้นหลังดำเนินการควรส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ให้กับทุกภาคส่วน ให้เห็นความสำคัญ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ (2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาครั้งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัด นครสวรรค์ที่สำคัญ คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ค่าตอบแทนผู้จัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกและประมวลผล ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ยุ่งยากและไม่สะดวกต่อการใช้งาน ขั้นหลังดำเนินการหน่วยงานอื่นไม่ให้ความสำคัญ และไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) (2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าระดับการศึกษา อายุราชการ ระดับตำแหน่ง และพื้นที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต่างกัน มีความเห็นต่อปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดนครสวรรค์ ที่สำคัญ คือ ขั้นเตรียมความพร้อมควรกำหนดค่าจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นโซนหรือเขตพื้นที่ตามระดับความยากง่ายหรือความหนาแน่นของหมู่บ้าน/ชุมชน ขั้นดำเนินการควรมีระบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกและประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ไม่ยุ่งยาก และสะดวกต่อการใช้งาน ขั้นหลังดำเนินการควรส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ให้กับทุกภาคส่วน ให้เห็นความสำคัญ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7088
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_153528.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons