Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/710
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 |
Other Titles: | Legal problems concerning the consideration of unsafe products in the liability for damages arising from unsafe product act B.E. 2551 |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล สมหวัง ก๋าอิ่นแก้ว, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤติพลวิมาน |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาแนวคิดทฤษฎีของหลักความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (2) ศึกษาความเป็นมาแนวคิดทฤษฎีของความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทย (3) ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกากลุ่มสหภาพยุโรป อังกฤษ เยอรมนีและญี่ปุ่น (4) เปรียบเทียบหลักการพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกากลุ่มสหภาพยุโรป อังกฤษ เยอรมนีและญี่ปุ่น (5) นําหลักที่ศึกษาได้มาปรับใช้กับการพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ของประเทศไทยต่อไปวิทยานิพนธ์นี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร เช่น ตํารากฎหมาย คําพิพากษาของศาล บทความ วารสารวิทยานิพนธ์เอกสารออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลของการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์ การพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยแบ่งออกเป็น 4 หลักเกณฑ์ คือ หลักความคาดหมายของผู้บริโภค หลักความเสี่ยงและประโยชน์หลักความประมาทเลินเล่อและหลักการพิจารณากรณีอื่นๆ โดยประเทศไทยนำเอาหลักความคาดหมายของผู้บริโภคตามแบบอย่างของกลุ่มสหภาพยุโรป ที่เป็นต้นแบบของกฎหมายความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ของไทยมาเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาสินค้าไม่ปลอดภัย ซึ่งมุ่งพิจารณาจากความพึงคาดหมายได้ของฝ่ายผู้บริโภคทั่วไปที่พึงคาดหมายได้ว่าเป็น “สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” ข้อเสนอแนะสําหรับการพิจารณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทยควรนำเอาหลักความเสี่ยงและประโยชน์ มาพิจารณาความเป็นสินค้าที่่ไม่ปลอดภัยร่วมด้วย ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย คําว่า “สภาพของสินค้า” เพื่อตรวจสอบการใช้ความระมัดระวังของฝ่ายผู้ประกอบการในการออกแบบผลิต และการให้คําแนะนําโดยให้คํานึงถึง วิธีการนําเสนอลักษณะการใช้งานและช่วงเวลาที่นําสินค้าออกสู่ท้องตลาดของผู้ประกอบการ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/710 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib134133.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 27.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License