กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7256
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Service marketing mix factors affecting selection of florist shops in Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณา ศิลปอาชา เกศรินทร์ บ่อทราย, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | ดอกไม้--การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการในการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (4) ความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประสมการตลาดบริการกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เช้าใช้บริการร้านดอกไม้ในอำเภอหัวหิน ชังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อดอกไม้เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้าน ซื้อดอกไม้พร้อมกับธูปเทียน วันละครั้ง ครั้งละ 11-20 บาท นิยมซื้อดอกไม้สีชมพูจากร้านดอกไม้เจ้าประจำเป็นผู้ตัดสินใจซื้อดอกไม้จากประสบการณ์ของตนเอง (2) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านราคาสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล ด้านกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย ตามลำดับ (3) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมี ค่าเฉลี่ยของความถี่ในการซื้อดอกไม้แตกต่างกัน และ (4) ส่วนประสมการตลาดบริการโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.1 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อดอกไม้ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกัน และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อดอกไม้โดยมีความสัมพันธ์เชิงลบในทิศทางตรงกันข้าม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7256 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_147905.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License