กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8034
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรปฐมวัย โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of curriculum in early childhood Patongwittaya Mulniti School Songkhla
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก
อรทัย กำบังภัย, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย--หลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย--ไทย--สงขลา.
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรปฐมวัย โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ จังหวัดสงขลา 3 ด้านคือ (1) ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรในด้านจุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร คุณลักษณะครูผู้สอน และส่วนอื่นๆ ที่สนับสนุนการเรียนการสอน (2) ความเหมาะสมของกระบวนการใช้หลักสูตร ในด้านการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตาม พัฒนาการการบริหารหลักสูตรปฐมวัย (3) ความเหมาะสมของผลผลิตของหลักสูตรในด้านพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจพัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กที่เรียนหลักสูตรปฐมวัย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 19 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 286 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มผู้ไห้ข้อมูลด้วยตารางของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้ชั้นปีเป็นตัวแบ่ง เครื่องมือที่ใชัในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบนันทึกข้อมูล แบบสอบถามมี ลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดและคำถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรปฐมวัยในด้านจุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร คุณลักษณะครูผู้สอน และส่วนอื่นๆที่สนับสนุนการเรียนการสอน มีความ เหมาะสมในระดับมาก (2) กระบวนการใช้หลักสูตร ในด้านการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามพัฒนาการ การบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมาก (3) ผลผลิตของหลักสูตร ในด้านพัฒนาการด้านร่างกายพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม และ พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กที่เรียนหลักสูตรปฐมวัย มีความเหมาะสมในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8034
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123121.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons