กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8421
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of the state, problems and guidelines for developing guidance operation of school under the Secondary Education Service Area Office 11 in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขอรุณ วงษ์ทิม
ผกามาศ เฟื่องฟู, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี.
การแนะแนวการศึกษา--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
การแนะแนวการศึกษา.
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน (2) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้อำนวยการ จำนวน 27 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 27 คน และครูแนะแนว จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 90 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานีปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานแนะแนวมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการดำเนินงานแนะแนวโดยภาพรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านบริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ด้านบริการปรึกษา (2) ปัญหาการดำเนินงานแนะแนวโดยภาพรวมของโรงเรียนดังกล่าว พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านบริการสนเทศ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านบริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการ พัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนดังกล่าว มีดังนี้ ควรจัดตั้งคลินิกสุขภาพจิต ควรชัดให้มีโครงการพี่แนะนำน้องหรือเพื่อนช่วยเพื่อน ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบริการแนะแนวครู แนะแนวควรแบ่งประเภทนักเรียนออกเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติ และโรงเรียนควรจัดตั้ง คณะกรรมการประเมินผลงานแนะแนว เพื่อพัฒนาบริการแนะแนวให้ดียิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8421
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150160.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons