กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8496
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing mixes relating to purchasing behavior tendency of skin care product from convenience store in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อโณทัย งามวิชัยกิจ กอแก้ว กรกีรติ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี เครื่องสำอาง--การตลาด การศึกษาอิสระ--การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร (3) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร( 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวก ซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็ นการศึกษาเชิงสํารวจ ประชากรคือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อไม่ทราบจำนวน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีคำนวณแบบสัดส่วนได้จำนวน 400 คน ทำการเก็บตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวและการวิเคราะห์ เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี อาชีพรับจ้างหรือเป็นพนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,000-15,000 บาท (2) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อพบว่าส่วนใหญ่ เลือกซื้อโลชันบำรุงผิวจากร้านสะดวกซื้อ (3) ระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง เพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อพบว่าภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก (4) แนวโน้มการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค พบว่าส่วนใหญ่ไม่แน่ใจต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในอนาคต (5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อ พบว่า เพศ อาชีพ และรายได้ที่ แตกต่างกันของผู้บริโภคมีแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิวในร้านสะดวกซื้อแตกต่างกัน (6) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุง ผิวในร้านสะดวกซื้อพบวาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8496 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
full_text 152108.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License