กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8520
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between transformational leadership of school administrators and school-based management in basic education schools in Narathiwat education service area 2.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
อรสา อาลี, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา ภัสสรศิริ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ผู้นำทางการศึกษา
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2 (2) ศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (3) ศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ (4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 124 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 124 คน ครูหัวหน้างาน จำนวน 496 คน รวม ทั้งสิ้น 620 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารโดยใช้ใรงเรียนเป็นฐานซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ การทดสอบสมมุติฐานใช้ระดับความ มีนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่ การศึกษานราธิวาส เขต 2 ตามการรับรู้ของครูหัวหน้างานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ครูรับรู้จากมาก ไปน้อย ได้แก่ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) การสร้างแรงบันดาลใจ (X,) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X,) และการกระตุ้นทางปัญญา (X3X2) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 2 ด้าน คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (X2) และ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) (4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (X,) ซึ่งอธิบายความแปรปรวนของการบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานได้ร้อยละ 4 และ (5) สมการพยากรณ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2 ในรูปคะแนนดิบ คือ Y = 2.870 + 0.262 (X) และในรูปคะแนน มาตรฐาน คือ Z = 0.196 (Z2)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128780.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons