กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/852
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการของผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors associated with the service reception of the patients out of the responsible areas at the out-patient department of Chiangkhan Hospital, Loei Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เยาวภา ติอัชสุวรรณ นิพนธ์ พัฒนกิจเรือง, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลเชียงคาน แผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยนอก--การดูแล ความพอใจของผู้ป่วย |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ (2) ศึกษาข้อมูลการใช้บริการ แผนกผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบต่อการจัดบริการของสถานีอนามัย และของแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเชียงคาน และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก และความพึงพอใจต่อการบริการของแผนกผู้ป่วยนอก การวิจัยใช้รูปแบบการสำรวจภาคตัดขวาง ประชากรคือผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเชียงคาน โดยไม่ผ่านระบบการส่งต่อ ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม 2553 จํานวน 10,832 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา 394 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.9171 และเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้ช่วยผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาการทดสอบไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-60 ปี สถานภาพสมรส นับถือศาสนาพุทธ จบชั้นประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม มีทั้งที่ไม่มีรายได้และที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีสิทธิการรักษาพยาบาลตามบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2) ผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบส่วนใหญ่อาศัยอยู่ห่างจากโรงพยาบาลเชียงคาน โดยเฉลี่ย 16.4 กิโลเมตร ไม่มีโรคเรื้อรัง ประจําตัว มีความรุนแรงของการเจ็บป่วยปานกลาง ต้องการตรวจกับแพทย์และต้องการกลับมาใช้บริการที่โรงพยาบาลอีก (3) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากต่อบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในด้านความปลอดภัยในการเดินทาง ประสิทธิภาพของการรักษาและความหลากหลายของบริการ ยาและเวชภัณฑ์ และมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อบริการที่สถานีอนามัยในด้านความสะดวกสบายในการไปรับบริการ และ (4) ตัวแปร ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาล ความพึงพอใจในบริการ การมีโรคเรื้อรังประจําตัว มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ บริการรักษาพยาบาลช่องทางด่วนสําหรับรองรับผู้ป่วยนอกเขตรับผิดชอบ เพื่อลดความแออัดและระยะเวลารอคอย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษาของแพทย์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/852 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118386.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License