กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8576
ชื่อเรื่อง: | การประเมินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) : การใช้วิธีการประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluating the social studies, religion and culture learning area of the basic education curriculum, B.E. 2551 as implemented at Tessaban 4 (Phocham) School : an empowerment evaluation approach |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สังวรณ์ งัดกระโทก เทียมใจ ศุภมาตร, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุพักตร์ พิบูลย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การประเมินหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน--ไทย--การประเมิน สังคมศึกษา--หลักสูตร--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพปัจจุบันของการใช้หลักสูตร และปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาการใช้หลักสูตร (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ (3) ประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมจำนวน 8 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2 คน ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากการใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง และเทคนิคกระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยได้ข้อสรุปดังนี้ (1) การพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนด้านจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหา ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน งบประมาณ สถานที่ และการวัดและการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก (2) โรงเรียนได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมไว้ว่า “พัฒนาตนเองเข้าสู่อาเซียน” โดยมีกิจกรรมที่สำคัญที่ต้องดำเนินการพัฒนา 6 กิจกรรม ประกอบด้วย (ก) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (ข) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม (ค) การจัดอบรมชี้แจงสร้างความตระหนัก (ง) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู (จ) การปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาในหลักสูตรเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน และ (ฉ) การส่งเสริมพัฒนาการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นำไปสู่กลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต; และ (3) ความก้าวหน้าของการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา พบว่า กิจกรรมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการ รวมพลังสร้างสรรค์สู่อาเซียนได้ดำเนินการไปแล้ว ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนกลยุทธ์อื่นๆ โรงเรียนได้นำไปกำหนดไว้ในแผนแล้ว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8576 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
134575.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License