Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8576
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สังวรณ์ งัดกระโทก | th_TH |
dc.contributor.author | เทียมใจ ศุภมาตร, 2507- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-08-08T02:57:16Z | - |
dc.date.available | 2023-08-08T02:57:16Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8576 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพปัจจุบันของการใช้หลักสูตร และปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาการใช้หลักสูตร (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ (3) ประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมจำนวน 8 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2 คน ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากการใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง และเทคนิคกระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยได้ข้อสรุปดังนี้ (1) การพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนด้านจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหา ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน งบประมาณ สถานที่ และการวัดและการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก (2) โรงเรียนได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมไว้ว่า “พัฒนาตนเองเข้าสู่อาเซียน” โดยมีกิจกรรมที่สำคัญที่ต้องดำเนินการพัฒนา 6 กิจกรรม ประกอบด้วย (ก) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (ข) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม (ค) การจัดอบรมชี้แจงสร้างความตระหนัก (ง) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู (จ) การปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาในหลักสูตรเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน และ (ฉ) การส่งเสริมพัฒนาการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นำไปสู่กลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต; และ (3) ความก้าวหน้าของการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา พบว่า กิจกรรมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการ รวมพลังสร้างสรรค์สู่อาเซียนได้ดำเนินการไปแล้ว ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนกลยุทธ์อื่นๆ โรงเรียนได้นำไปกำหนดไว้ในแผนแล้ว | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th_TH |
dc.subject | การศึกษาขั้นพื้นฐาน--ไทย--การประเมิน | th_TH |
dc.subject | สังคมศึกษา--หลักสูตร--การประเมิน | th_TH |
dc.title | การประเมินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) : การใช้วิธีการประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจ | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluating the social studies, religion and culture learning area of the basic education curriculum, B.E. 2551 as implemented at Tessaban 4 (Phocham) School : an empowerment evaluation approach | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to (1) assess current conditions of curriculum implementation, and problems and obstacles related to development of curriculum implementation; (2) examine strategies for curriculum development in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area; and (3) evaluate the progress of curriculum development and improvement in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area. Research informants for this study comprised three school administrators, eight teachers teaching in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area, and two basic education school board members. Research data were collected via the use of a questionnaire, focus group discussion, brainstorming, and empowerment evaluation process technique. The collected data were analyzed using content analysis, frequency, percentage, mean, and standard deviation. Conclusions obtained from research findings were as follows: (1) the development of curriculum implementation of the school in the dimensions of objectives, structure, contents, teachers, instructional media, budget, school buildings, and measurement and evaluation were appropriate at the high level; (2) the school envisioned its curriculum in the Social Studies, Religion and Culture Learning Area as “Self-Development toward Joining the ASEAN Community” by which there were six main activities needed to be developed, namely, (a) organizing instructional activities, (b) organizing shared learning experiences within the learning area, (c) organizing training sessions to develop awareness on ASEAN, (d) organizing shared learning experiences for teachers, (e) improvement of curriculum contents to include contents on ASEAN countries, and (f) development and enhancement of students’ information retrieval skills; all of these activities were expected to lead to the creation of strategies for curriculum development in the future; and (3) regarding the progress of curriculum development and improvement, it was found that one activity had been organized, namely, the academic exhibition for enhancing creative power toward ASEAN; as a result, those who joined in the activity were highly satisfied with it; meanwhile, other strategies had already been included in the school plan. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สุพักตร์ พิบูลย์ | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
134575.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License