กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8672
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยสาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่ : การประยุกต์ใช้วิธีการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing research capacity building for the accounting department's research team of Rajamangala university of technology Lanna Chiang Mai : an application of empowerment evaluation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สังวรณ์ งัดกระโทก นพพล ฟูแสง, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่ วิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยสาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (2) เพื่อประเมินความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยสาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ และ (3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาคือ ทีมวิจัยอาจารย์สาขาการบัญชี 7 คน โดยใช้กระบวนการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ 3 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรวจสอบต้นทุน และวางแผนสำหรับอนาคต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินการอบรม และแบบประเมินตนเองด้านความรู้และความมั่นใจในด้านการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยสาขาการบัญชี ประกอบด้วยกิจกรรม 6 กิจกรรมคือ การส่งเสริมให้เกิดโครงการวิจัยขึ้นในสาขาการบัญชี การส่งเสริมให้เกิดสภาพบรรยากาศการเรียนรู้ในด้านการวิจัย การส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพการวิจัยโดยในรูปของการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม การส่งเสริมให้ทีมวิจัยได้ร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านงานวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนให้เกิดการบูรนาการด้านการเรียนการสอนกับงานวิจัย และการสนับสนุนให้มีการเปิดพื้นที่วิจัยให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของสาขาการบัญชี (2) การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ 5 โครงการดังนี้ โครงการที่ 1 กิจกรรมอบรมการเขียนโครงการเพื่อขอทุนวิจัย โครงการที่ 2 กิจกรรมอบรมการใช้เครื่องมือวิจัย โครงการที่ 3 กิจกรรมอบรมการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อนำมาใช้เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์โครงการที่ 4 กิจกรรมห้องสมุดงานวิจัย โครงการที่ 5 กิจกรรมอบรมในการทำวิจัยชุมชน ผลการประเมินความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของทีมวิจัยพบว่าทีมวิจัยมีความรู้และความมั่นใจในด้านการทำวิจัยอยู่ในระดับมาก และผลผลิตด้านงานวิจัยของสาขาการบัญชีเพิ่มมากขึ้น (3) ผลการสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยพบว่ามีขั้นตอนที่ควรพิจารณาหากต้องการนำไปใช้ในองค์กรอื่นๆ ดังนี้ 1) การประเมินบริบทและปัญหาด้านวิจัยที่ผ่านมา 2) การกำหนดพันธกิจและภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กร 3) การกำหนดกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีเป้าหมายชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของทีมวิจัย 4) การกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานให้ชัดเจน 5) การดำเนินการตามพันธกิจและกิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8672 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
138436.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License