กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8705
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation in learning Buddhism of students at Sunday Buddhism Study Centers in Bangkok Metropolitan Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี สังข์ศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
โสภาพันธ์ สอาด, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระครูนิบุณจริยาทร (นิคม แย้มย้อย), 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ -- วิทยานิพนธ์
พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจภายในและภายนอกของนักเรียนใน การเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่างนักเรียนแต่ละระดับในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนจากศูนย์ศึกษุทธศาสนาวันอาทิตย์ 9 แห่ง จำนวน 468 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และ พระผู้สอนจำนวน 30 รูป เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามนักเรียนและพระผู้สอนที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจโดยรวมในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อยู่ในระดับมาก ด้านแรงจูงใจภายใน พบว่านักเรียนมีแรงจูงใจภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความภาคภูมิใจ อยู่ในระดับมาก และรองลงมาด้านความศรัทธา/ความเชื่อ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนแรงจูงใจภายนอกโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้ปกครอง (ความคาดหวัง,การสนับสนุน) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านครู อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน (2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจระหว่างนักเรียนแต่ละระดับ พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05 และ (3) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนนั้นเห็นว่าด้านผู้ปกครองมีความสำคัญมาก รองลงมาคือ ด้านวิธีการสอนของครู ความคิดเห็นของพระผู้สอน มีความคิดเห็นว่าแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจ คือ ด้านครูผู้สอนและด้านวิธีการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8705
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140923.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons