กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8720
ชื่อเรื่อง: | แบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสำหรับครูอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of training via network for Vocational Education Teachers under the Office of the Vocational Education Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ วรลักษณ์ เจียมพิจิตรกุล, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ครู--การฝึกอบรม |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของครูอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีต่อการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ แบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย สำหรับครูอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (3) นำเสนอแบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย สำหรับครูอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 102 คน และ (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายของครู (2) แบบระดมความเห็นในการสนทนากลุ่ม (3) ต้นแบบชิ้นงาน และ (4) แบบประเมินและรับรองต้นแบบชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการของครูที่มีต่อการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อแบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายว่าเป็นการฝึกอบรมโดยเรียนรู้ด้วย ตนเอง เป็นการอบรมแบบเผชิญหน้าและออนไลน์ โดยมีสัดส่วน 20 : 80 และมีการออกแบบการฝึกอบรมผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตครอบคลุม 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ครอบคลุม 1) วัตถุประสงค์ของการ ฝึกอบรม 2) คุณลักษณะของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3) ผู้ดำเนินการฝึกอบรม (วิทยากร) 4) เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมผ่าน เครือข่าย 5) สื่อประกอบการฝึกอบรม 6) วิธีปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย 7) แนวทางการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 8) กิจกรรมที่เหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 9) สภาพแวดล้อม/เทคโนโลยีสนับสนุน องค์ประกอบด้าน กระบวนการ ครอบคลุม 1) ลักษณะของการจัดฝึกอบรมผ่านเครือข่าย 2) ระยะเวลาการจัดฝึกอบรมผ่านเครือข่าย 3) การดำเนินการก่อนการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย 4) การดำเนินการระหว่างการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย และ 5) การดำเนินการหลังการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ครอบคลุม 1) ผลลัพธ์ของผู้เข้า ฝึกอบรมผ่านเครือข่าย 2) การประเมินแบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่าย และ 3) การปรับปรุงแบบจำลองการ ฝึกอบรมผ่านเครือข่าย ขั้นตอนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศ ขั้นนำเข้าสู่การ ฝึกอบรม ขั้นดำเนินการและประกอบกิจกรรมการฝึกอบรม ขั้นสรุป และขั้นประเมินผลการฝึกอบรม และ (3) แบบจำลองการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายที่นำเสนอได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษาว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก |
รายละเอียด: | ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8720 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
140925.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License