กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8733
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package to develop decision-making skill in furthering study of Mathayom Suksa III students at Ban Sanpasak School in Chiang Mai Province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เป็นไท เทวินทร์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การศึกษาต่อ -- การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ (2) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ (3) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว กับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 54 คน ในสองห้องเรียนของโรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม แล้วกำหนดโดยสุ่มให้นักเรียนห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ ส่วนนักเรียนอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ (2) แบบวัดทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่างรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับโดยมีค่าอยู่ระหว่าง .25 - .60 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ (3) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อหลังการทดลองสูงกว่าทักษะดังกล่าวก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ในระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาไม่แตกต่างจากระยะหลังการทดลอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8733
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141015.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons