กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8736
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจตคติทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพานพิทยาคม จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package to promote appropriate sexual attitudes of Mathyom Suksa IV students at Phan Phittayakom School in Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณิลุบล เจริญรุ่งมาลา, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
การแนะแนว -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพานพิทยาคม จังหวัด เชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจตคติทางเพศที่เหมาะสม (2) เปรียบเทียบเจต คติทางเพศที่เหมาะสมภายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและกลุ่ม ควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศทางการแนะแนว และ (3) เปรียบเทียบเจตคติทางเพศที่เหมาะสมของ นักเรียนกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คนในโรงเรียนพานพิทยาคม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ใน ปีการศึกษา 2555 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจต คติทางเพศที่เหมาะสม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับข้อสนเทศทางการแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัดเจตคติทางเพศที่เหมาะสม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 (2) ชุดกิจกรรมแนะ แนวเพื่อส่งเสริมเจตคติทางเพศที่เหมาะสม และ (3) ข้อสนเทศทางการแนะแนว สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติ ทางเพศที่เหมาะสมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่ม ทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีเจตคติทางเพศที่เหมาะสมสูงขึ้นกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับ ข้อสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่ม ทดลองมีเจตคติทางเพศที่เหมาะสมหลังการทดลองสูงกว่าระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8736
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142729.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons