กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8750
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพสถานศึกษาของประเทศไทยจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of inequality in quality of schools in Thailand using data from external evaluations of basic education level schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก
ธนัญชัย ไชยหงษ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นลินี ณ นคร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
การประเมินผลทางการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามขนาด สังกัด และที่ตั้งของสถานศึกษา (2) ศึกษาผลของการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองต่อความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรเป็นสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก ครบทั้ง 3 รอบการประเมินแล้ว จำนวน 8,193 แห่ง และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 แห่ง เลือกมาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ซึ่งเลือกมาแห่งละ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) แบบสอบถามการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และ (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ดัชนีจีนี่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 รอบ เมื่อจำแนกตามขนาด สังกัด และที่ตั้งของสถานศึกษา พบว่า ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษามีแนวโน้มลดลง (2) การดำเนินงานตามกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีผลต่อความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ตัวแปรอัตราส่วนครูต่อนักเรียน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา การส่งเสริมการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (3) แนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความเป็นผู้นำทางวิชาการและคณะกรรมการสถานศึกษาต้องมีบทบาทอย่างแท้จริงในการเข้ามาร่วมจัดการศึกษาและบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) ครูผู้สอนต้องรู้จักปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เกิดความหลากหลาย และ 3) สถานศึกษาควรเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษาควบคู่กับการยกระดับคุณภาพการศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8750
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143317.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons