กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8759
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคบเพื่อนต่างเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a social cognitive theory-based guidance activities package to develop skills for association with oppoosite - sex friends of Mathayom Suksa III students at Khuan Khanun School in Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุไรวรรณ กิตตินนทิกร, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การแนะแนว -- เครื่องมือ
การแนะแนว -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการคบเพื่อนต่างเพศของกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ตามทฤษฎีปัญญาทางสังคมเพื่อพัฒนาทักษะการคบเพื่อนต่างเพศและของกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศ (2) เปรียบเทียบทักษะการคบเพื่อนต่างเพศของกลุ่มทดลองที่มีลักษณะทางชีวสังคมที่แตกต่างกันหลังการ ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคม (3) เปรียบเทียบทักษะการคบเพื่อนต่างเพศของกลุ่ม ทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่มีต่อชุด กิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งโดยการสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องและกลุ่ม ควบคุม 1 ห้องๆ ละ 30 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคม ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับข้อสนเทศทางการแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามทักษะ การคบเพื่อนต่างเพศ มีค่าความเที่ยง .65 (2) แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม (3) ชุดกิจกรรมแนะแนว ตามทฤษฎีปัญญาทางสังคมเพื่อพัฒนาทักษะการคบเพื่อนต่างเพศ จำนวน 12 กิจกรรม (4) ข้อสนเทศ ทางการแนะแนว และ (5) แบบประเมินความพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญา ทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนควนขนุน ในกลุ่มทดลองที่ ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคมเพื่อพัฒนาทักษะการคบเพื่อนต่างเพศมีทักษะการคบ เพื่อนต่างเพศสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) นักเรียน กลุ่มทดลองที่มีเพศ และสถานภาพบิดามารดาต่างกัน เมื่อได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทาง สังคมมีทักษะการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน (3) นักเรียนกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองกับใน ระยะติดตามผลมีทักษะการคบเพื่อนต่างเพศไม่แตกต่างกัน และ (4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจ ต่อชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีปัญญาทางสังคมในระดับมากที่สุด ( Mean = 4.40, S.D = 0.68)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143329.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons