กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8768
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดประชานิมิตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package to develop knowledge acquisition behaviors of Mathayom Suksa IV students at Wat Prachnimit School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกสร เถียรสายออ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมการเรียน -- การสอนด้วยสื่อ
พฤติกรรมการเรียน -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดประชานิมิตร ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ ของกลุ่มทดลอง ที่มีภูมิหลังทางชีวสังคมที่แตกต่างกัน 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ ของกลุ่มทดลอง ที่ผู้ปกครองมีความเอาใจใส่ดูแลทางการเรียนที่ ต่างกัน และ (4) เปรียบเทียบพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ ของกลุ่มทดลองระยะหลังทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใน 2 ห้องเรียน ของโรงเรียนวัดประชานิมิตร โดยสุ่มตัวอย่างห้องละ 30 คน แล้วกำหนดโดยสุ่มให้เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ส่วน กลุ่ม ควบคุมได้รับข้อสนเทศการแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ (2) แบบสอบถามทางชีวสังคม (3) แบบสอบถามความเอาใจใส่ดูแลทางการเรียนของผู้ปกครอง (4) ชุด กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ และ (5) ข้อสนเทศการแนะแนว สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ รู้หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูง กว่าพฤติกรรมดังกล่าวของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มี เพศและระดับการศึกษาของผู้ปกครองแตกต่างกันมีพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ รู้หลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยและอาชีพของผู้ปกครองแตกต่างกันมีพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ หลังการ ทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3) นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ผู้ปกครองมีความเอา ใจใส่ดูแลทางการเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ ไม่แตกต่างกัน และ (4) นักเรียนกลุ่มทดลองมี พฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่ รู้ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8768
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144204.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons